“หุ้นใหม่”เน่า ๆ Ep.3

“หุ้นจอง” เริ่มหมดความสดใส ความกระเหี้ยนกระทื่อรือเก็งกำไร หุ้นใหม่หายไปเยอะ

“หุ้นจอง” สร้างปัญหาความไม่โปร่งใสมาตลอด เพียงแต่ ยุคต้น ๆ ความไม่โปร่งใสเกิดจากการ “กั๊ก” โควตา การ “ฮุบ” หรือ “มม” โควต้หุ้น โดยจำนวนหุ้นที่สนอขายนักลงทุน ไม่ถูกนำไปจัดสรรกระจายสู่นักลงทุนทั้งหมด แต่ผู้บริหารบริษัท จดทะเบียนใหม่ หรือบริษัทแกนนำผู้จัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่าย (อันเดอไรเตอร์) จะ “ฮุบ” หุ้นไว้จำนวนหนึ่ง

เพื่อหาประโยชน์เข้า ตัวเอง การ “ฮุบ” โควตำหุ้นจอง เคยเป็นข่าวฉาวโฉอยู่บ่อย และถูกนักลงทุนร้องเรียนปัญหาการจัดสรรก็หลายครั้งซึ่งการตรวจสอบบางกรณีพบว่า ผู้บริหารโบรกเกอร์บางแห่งที่เป็นตัวแทนผู้จัดจำหน่าย “ฮุบ” หุ้นจองไว้เสียเอง โดยผ่องถ่ายหุ้นจองด้วยการจัดสรรให้คนขับรถหรือคนใกล้ชิดตัวเองแทน

กรณีการจองหุ้นที่ฉาวโฉ่ครึกโครมมากที่สุดคือ หุ้นจอง บริษัท ไทย-เยอรมัน เซรามิค จำกัด ซึ่งจดทะเบียน ตลาดหลักทรัพย์อยู่แล้ว ประมาณปี 2622 บริษัท ไทย-เยอรมัน เซรามิค ได้ประกาศพิมทุน โดยนำหุ้นเพิ่มทุนเสนอชายนักลงทุนทั่วไป ราคาหุ้นละ 400 บาท ขณะที่ราคาซื้อขายในกระด่านเคลื่อนไหวอยู่ประมาณ 800 บาท

หุ้นจองไทย-เยอรมัน เชรามิคได้รับความสนใจสูง และควรจะเป็นเช่นนั้น เพราะใครได้โควต้าจองซื้อ กำไรเห็น ๆ 100% ดังนั้นเมื่อถึงวันที่บริษัทกำหนดปิดให้จอง นักลงทุนจึงแห่รอคิวหน้าบริษัทกันตั้งแต่ตีหนึ่ง แต่เมื่อเจ้าหน้าที่บริษัทเปิดประตูสำนักงาน ในเวลาประมาณ 7 โมงเช้า กลับไม่มีหุ้นไทย-เยอรมัน เซรามิค ให้จองแต่อย่างใด

โดยเจ้าหน้าที่แจ้งให้นักลงทุนที่ยืน เข้าคิวรอซื้อทราบว่า ใบจ้องหุ้นหมดแล้ว หุ้นเพิ่มทุนเสนอชายไป

หมดแล้ว ทั้งที่เปิดจองซื้อเพียงวันแรก และนักลงทุนที่ยืนรอคิวไม่มีใครได้รับการจัดสรรแม้แต่คนเดียว

การ “ฮุบ” หุ้นจองไทยเยอรมัน เซรามิค เป็นการ “ฮุบ” ทั้งจำนวนอย่างน่าเกลียด ผู้บริหารบริษัทฯ ไม่ยอมแบ่งให้ใครกิน โดยจัดสรรนส่วนแบ่งกันเองในหมู่กรรมการบริษัทฯ นักลงทุนที่ แห่ไปเฝ้ารอคิวซื้อจึงยกขบวนยื่นเรื่ององเรียน ดรมารวย ผดุงศิษย์ กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ในช่วงนั้น

ดร.มารวยแก้ปัญหาโดยขอให้ผู้บริหารบริษัทไทย-เยอรมัน เซรามิค ยอมคายหุ้นบางส่วนออกมา และนำจัดสรรเกลี่ยให้นักลงทุนที่เดินทางไปเข้าคิวรอซื้อหน้าบริษัทในวันแรกที่เปิดจองโดยเฉลี่ยจัดสรรคนละ 50 หุ้น เรื่องจึงจบ

เติมเงินขั้นต่ำ300บาท

Table of Contents