นับตั้งแต่ช่วงสายของวันที่ 6 พฤษภาคม 2564 จนถึงเวลา 16:30 น โดยประมาณ ดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้ร่วงลงมากว่า 30 จุดจนสุดท้ายช่วงค่ำของวันเดียวกันเราก็ได้ทราบว่าผู้ที่ขายสุทธิเกินกว่า หมื่นล้านบาทก็คือนักลงทุนต่างชาติ คำถามก็คือ เกิดอะไรขึ้น คำตอบก็มีอยู่หลายประการด้วยกัน
ตั้งแต่ความไม่เชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติที่มีต่อรัฐบาลไทยในเรื่องการควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัส covid-19 รอบที่ 3 ประการต่อมา เป็นเรื่องของปัจจุบันประเทศไทยไม่ได้เป็นเป้าหมายหลักในการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติเนื่องจากปัจจัยด้านประชากรที่แก่ตัวลงมากและส่งผลถึงกำลังซื้ออย่างมีนัยสำคัญ
รวมทั้งปัจจุบันมีประเทศเกิดใหม่ที่มีความพร้อมทั้งด้านประชากรรวมถึงการพัฒนาของประเทศนั้นยังไม่อิ่มตัวตัวเหมือนอย่างประเทศไทย ซึ่งก็คงเป็นใครไปไม่ได้นอกจากประเทศเวียดนามซึ่งแม้แต่นักลงทุนไทยเองก็มีหลายคนที่ปัจจุบันได้นำเงินไปลงทุนที่ประเทศเวียดนาม คำถามสำคัญก็คือ หากเราเป็นนักลงทุนที่ยังลงทุนในหุ้นของประเทศไทยอยู่เราจะมีวิธีการรับมืออย่างไรกับรายการในช่วงนี้

กลยุทธ์ลงทุนหุ้นที่แตกต่าง สำหรับคนที่แตกต่าง
สำหรับกลยุทธ์ในการลงทุนหุ้นในช่วงนี้ผมสามารถจำแนกสไตล์ของนักลงทุนพร้อมทั้งอธิบาย กลยุทธ์ที่เหมาะกับต้นทุนแต่ละสไตล์ไปแบบนี้ครับ
1. ถ้าคุณไม่ใช่สายยาว และคุณก็มีเงินสดอยู่บ้างกลยุทธ์ก็คือคุณไม่ต้องรีบเพราะโควิดระลอก 3 นี้อาจนานกว่าที่คิดคุณอาจจะทยอยซื้อหุ้นบางตัวที่พื้นฐานยังดีราคาลงต่ำโดยไม่ต้องทุ่มหมดตัว

2. ถ้าคุณเป็นสายยาวที่สามารถถือได้เกิน 1 ปีและก็มีตังด้วย อันนี้ต้องบอกเลยว่าสบายที่สุดเพราะคุณสามารถเลือกจับจ่ายใช้สอยช็อปหุ้นที่คุณชอบซึ่งราคาได้ร่วงลงมาในช่วงนี้เรื่อย ๆ สบายๆ เมื่อเวลาผ่านไป 1 ปีรับรองว่าหลุด
3. ถ้าตอนนี้คุณไม่มีตังล่ะแล้วก็มีหุ้นอยู่ในพอร์ตข้อนี้กลยุทธ์มีอยู่ 2 แนว แนวแรกคือการหาตังเพิ่มจากช่องทางเสริมอื่น ๆ หรือออมเพิ่มจากคนที่มีรายได้ประจำหรือที่ยังมีรายได้จากธุรกิจอยู่เพื่อนำมาซื้อเพิ่มเติม แนวทางที่สองก็คือขายหุ้นที่มีอยู่บางส่วนเพื่อนำเงินสดมาซื้อในช่วงที่หุ่นดีหลายตัวราคาร่วงลงมาในราคาที่เหมาะสม

สำหรับกลยุทธ์การขายหุ้นวิธีที่ 3 เราจะเลือกขายตัวไหนนั้น ขึ้นอยู่กับเราเลยว่า ตัวไหนคือตัวที่ไปต่อยาก รื้อฟื้นยาก ก็ต้องตัดใจขายครับ
เครดิตภาพ matichon.co.th ,promotions.co.thและthairath.co.th
#การลงทุน#เทรนการลงทุน #เทคนิคการเล่นหุ้น #หุ้น