เทคนิคการลงทุนหุ้น ตอน อย่าขาดทุน

ไม่ว่าใครก็ตามที่เคยผ่านประสบการณ์การลงทุนในหุ้นตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป จะเป็นคนที่ผ่านร้อนผ่านหนาวในตลาดหุ้นพอสมควร และถึงแม้จะไม่ผ่านร้อนผ่านหนาวครบรอบเหมือนกับนักลงทุนที่มีประสบการณ์เกิน 10 ปี ก็ถือว่าผู้ที่ผ่านการลงทุน 5 นั้น เพียงพอต่อการได้รับขนานนามว่า เป็นนักลงทุนหุ้น ได้อย่างเต็มตัว

เพราะจะมีประสบการณ์ การได้กำไร การขาดทุน ผ่านแนวทางที่ตัวเองตั้งใจเลือกหรือไม่ตั้งใจเลือกอย่างแน่นอน ซึ่งประสบการณ์ที่สำคัญสำหรับผม ไม่ใช่ประสบการณ์การได้กำไรนะครับ แต่เป็นประสบการณ์การขาดทุน ที่เปรียบเสมือนสิ่งชี้เป็นชี้ตาย ว่าจะหยุดลงทุนแค่นี้ หรือว่าไปต่อดี ซึ่งการขาดทุนไม่มาก ส่วนใหญ่แล้ว

คงไม่มีใครหยุดลงทุน มีแต่การขาดทุนมาก ๆ นั่นแหละที่ทำให้หลายคนท้อจนออกจากตลาดหุ้นไป ตรงกันข้าม ก็มีบางคนที่ไม่ท้อ ต่อสู้ในตลาดหุ้นต่อ ด้วยเหตุนี้ จึงพูดได้เต็มปากว่า หากท่านอยากไปต่อในตลาดหุ้น ก็จงอย่าขาดทุน

ลงทุนหุ้น ต้องใส่ใจรายละเอียด

คำถามสำคัญ ทำไมผมถึงต้องพูดว่า อย่าขาดทุน จากการลงทุนหุ้น ทั้ง ๆ ที่โอกาสขาดทุนกับโอกาสได้กำไร มีสูงพอ ๆ กัน มันยากยิ่งนักที่จะหลุดพ้นจากการขาดทุนได้ คำตอบก็คือ คำว่าอย่าขาดทุน ตามความหมายของผม ก็คือ อย่าขาดทุนเป็นจำนวนที่มากเกินไปจากทุนที่เรามีทั้งหมด

ยกตัวอย่างเช่นการขาดทุนตั้งแต่ 50%ขึ้นไป เป็นอะไรที่ย่ำแย่ และโอกาสพลิกตัวกลับมาให้เหมือนเดิมหรือแม้กระทั่งได้กำไร 50% จะต้องใช้ความสามารถที่สูงมาก เพราะเงื่อนไขมีอยู่ 2 อย่าง คือ หาหุ้นที่ทำผลตอบแทนในระดับ 50หรือ 100% จึงจะตอบโจทย์

คำถามต่อมา แล้วทำอย่างไร จึงจะไม่ขาดทุนหนัก ๆ ซึ่งยากต่อการกลับตัว คำตอบ ก็มี 2 แบบ แบบที่หนึ่ง ถ้าคุณเป็นนักลงทุนแบบเก็งกำไร คุณก็ต้องมีวินัย กำหนดจุดตัดขาดทุนไว้เลย ว่า 8% ตัด หรือ 10% ก็แล้วแต่ชอบ แต่ไม่ควรเกิน 10% แบบที่สอง ถ้าคุณเป็นนักลงทุนแนวปัจจัยพื้นฐาน

และได้ประเมินมูลค่าหุ้นก่อนซื้อหุ้นอย่างดีแล้วว่า ในอนาคตอีก 5-10 ปี ข้างหน้า มูลค่าจะเพิ่มขึ้นไปสูงกว่าราคาหุ้นตอนที่ซื้อมาก การที่หุ้นลง นั่นคือโอกาสที่คุณจะซื้อเพิ่ม ก็ไม่เห็นจะต้องกังวลอะไร แต่ประเด็นของแบบที่สองนี้ คือ ความมุ่งมั่นศึกษาหาความรู้แบบเอาเป็นเอาตายจนสามารถคัดเลือกหุ้นดี ๆ

ด้วยตัวเองนี่แหละ คือ สิ่งที่นักลงทุนหลายท่านละเลย หรือไม่อยากศึกษา ซึ่งจะสามารถพบเห็นประจำจากเพจหรือเว็บไซต์ที่มีคนชอบถามว่า ซื้อหุ้นอะไรดี ซื้อหุ้นตัวไหนดี แนะนำหน่อย

ดังนั้น ถ้าไม่ชอบศึกษาหุ้นแนวปัจจัยพื้นฐานก็อย่าขาดทุนเยอะครับ…สวัสดี

เครดิตภาพ sharingtradeschool.com,sanook.comและthairath.co.th

#การลงทุน #เทรนการลงทุน #เทคนิคการเล่นหุ้น #การลงทุนหุ้น

Table of Contents