เมื่อคุณตัดสินใจแน่วแน่แล้วว่า คุณจะซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ เนื่องจากคุณอยากประสบความสำเร็จจากการทำธุรกิจ แต่ทว่าคุณเองเป็นคนที่ไม่อยากเข้าไปคลุกคลี เข้าไปบริหารจัดการธุรกิจที่แทบจะไม่มีเวลาหยุดพัก เพราะด้วยลักษณะพิเศษของหุ้นที่เมื่อเราได้ตัดสินใจซื้อแล้ว ไม่ว่าเป็นจำนวนมากหรือน้อย เราก็มีสถานะเป็นเจ้าของร่วมคนหนึ่งในบริษัทหรือกิจการนั้น ๆ ยิ่งบริษัทหรือกิจการนั้น ๆ
เป็นบริษัทที่มีชื่อเสียง เมื่อเอ่ยชื่อทีไร ใคร ๆ ก็รู้จัก ในมุมของผู้ถือหุ้นอย่างเรา แม้ว่าหุ้นที่เราถืออาจจะไม่ได้มีจำนวนมากมาย ที่มีโอกาสติดลิสต์รายชื่อผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ผมเชื่อเหลือเกินว่าลึก ๆ แล้ว พวกเราก็มีความภูมิใจซ่อนอยู่ไม่มากก็น้อย ว่าเราเองก็เป็นเจ้าของบริษัทที่คนไทยนิยมใช้บริการ หรือเป็นเจ้าของในผลิตภัณฑ์ที่คนไทยรู้จักเป็นอย่างดี

ควรซื้อหุ้นเพราะหุ้นคือเครื่องจักรทำเงินให้เรา
เขียนไปเขียนมา หลายท่านอาจจะเริ่มงงว่า ตกลงผมเขียนย้อนแย้งกันหรือไม่ ตอนแรกบอกให้ ซื้อหุ้น เหมือนการทำธุรกิจ ซึ่งเมื่อเราจะทำธุรกิจ เราก็ต้องรักธุรกิจนั้นไม่ใช่เหรอ? ผมขอตอบว่า ถ้าเราเป็นเจ้าของกิจการ เราต้องรักธุรกิจที่เราลงทุนสร้างมันมาด้วยความเหนื่อยยากแน่นอนครับ แต่สำหรับหุ้น เรามีสถานะสูงสุดอย่างมากก็แค่ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ไม่ใช่เจ้าของเพียงคนเดียว หรือพูดง่าย ๆ
พวกเราคือนักลงทุน นั่นเอง ซึ่งการเป็นนักลงทุน ไม่ว่าท่านจะเป็นนักลงทุนแนวไหน ทุกท่านมีเป้าหมายเดียวกัน คือ ผลตอบแทนจากการลงทุน ซึ่งผลตอบแทนจากการลงทุนในหุ้นก็มีเพียง 2 ทาง คือ ปันผล กับ ส่วนต่างของราคาหุ้น ดังนั้น ก่อนที่เราจะซื้อหุ้นอะไรก็ตาม ถ้าเรามีความรู้ความเข้าใจมากในธุรกิจที่ต้องการซื้อ เราย่อมได้เปรียบ

เพราะเราจะมองออกว่าธุรกิจนี้ มีเงื่อนไข อายุขัย ของธุรกิจหรือไม่อย่างไร เพราะต้องยอมรับความจริงว่า ไม่ใช่ทุกธุรกิจที่จะมีอายุยืนยาวได้เป็นร้อยปี ซึ่งนี่คือสาเหตุที่ผมพยายามบอกว่า เมื่อถึงเวลาที่หุ้นที่เราซื้อถึงจุดอิ่มตัวแล้ว หรือถึงจุดสูงสุดแล้ว เราก็ต้องขายเพื่อทำกำไรอยู่ดี ซึ่งจะขายช่วงไหนเวลาไหนก็ขึ้นอยู่กับการประเมินของท่านนักลงทุนแต่ละคน

สุดท้าย ขอให้ท่านนักลงทุนพึงระลึกอยู่เสมอว่า การซื้อหุ้น ก็เหมือนการซื้อเครื่องจักรผลิตเงินให้เรา ไม่ต้องสน ไม่ต้องแคร์ ว่าใครจะรู้จักหุ้นที่ท่านถือบ้าง ตราบใดที่เมือเราขาย เราได้กำไร นั่นแหละคือความสำเร็จของนักลงทุน…สวัสดีครับ
เครดิตภาพ maoinvester.com,thanhoon.comและgreedisgoods.com
#การลงทุน #เทคนิคการลงทุน #ซื้อหุ้น