อัตราส่วนที่ควรรู้ หากคิดจะเริ่มลงทุนในหุ้น

พอเปิดหัวข้อด้วยคำว่า อัตราส่วน หลาย ๆ คนคงแทบจะเลื่อนผ่าน หรือข้ามไป เพราะคำ ๆ นี้มันช่างเป็นคำที่น่าเบื่อสำหรับคนที่ไม่ชอบตัวเลข แต่จะทำอย่างไรได้ ถ้าคุณคิดจะเป็นนักลงทุนผู้ยิ่งใหญ่ ลำพังเพียงการฟังเจ้าของบริษัท หรือคนอื่น ๆ พูดว่าหุ้นตัวนี้ดี หุ้นตัวนี้เติบโตแน่นอนในอีก 10 ปี ข้างหน้า

โดยที่ไม่เคยวิเคราะห์ตัวเลขด้วยตัวเองเลย แม้แต่ครั้งเดียว ผมทำนายได้เลยว่า คุณคงยากที่จะประสบความสำเร็จจากการลงทุนในสินทรัพย์ที่เรียกว่าหุ้น   แต่ด้วยอัตราส่วนตัวเลขต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับหุ้น มีมากมายหลายตัวเลขเหลือเกิน ทำให้เกิดปัญหาว่า จะเริ่มศึกษาจากตัวเลขตัวไหนก่อนดี วันนี้มีคำตอบแล้วครับ รับรองว่าอัตราส่วนตัวเลขที่ว่านี้ จะเป็นตัวเลขที่เข้าใจง่ายที่สุด สำหรับนักลงทุนมือใหม่หัดเดินทุกท่าน อย่างแน่นอน

อัตราส่วน ที่ทำให้รู้ว่าหุ้นถูกหรือยัง

P/E อัตราส่วนนี้ เรียกง่าย ๆ ว่า ค่าพีอี ซึ่งมาจากการนำ ราคาหุ้น หารด้วย กำไรต่อหุ้นเฉลี่ย 4 ไตรมาสหลังสุด ซึ่ง อัตราส่วน นี้จะทำให้เรารู้ว่า หุ้นตัวที่เราจะซื้อนั้น มีราคาถูกหรือยัง ซึ่งหุ้นที่ราคาถูกส่วนมาก ค่าพีอี จะมีค่า 10 ลงมา ยกตัวอย่างเช่น หุ้นที่เราต้องการจะซื้อมีราคา 10 บาท และในปีนั้น กำไรสุทธิต่อหุ้น คือ 1 บาท จึงเท่ากับว่า หากหุ้นตัวนี้สามารถทำกำไรได้ปีละ 1 บาท ไปเรื่อย ๆ เราจะสามารถคืนทุนได้ภายใน 10 ปี นั่นเอง

P/BV

อัตราส่วนนี้เรียกสั้น ๆ ว่า ค่าพีบีวี เกิดจากการนำราคาหุ้น หารด้วย มูลค่าทางบัญชี ซึ่งคำว่ามูลค่าทางบัญชีนี้ คือค่าที่สมมติว่าบริษัทที่เราจะซื้อหุ้นเกิดเจ๊งขึ้นมาเขาจะขายทรัพย์สินทั้งหมด ได้เท่าไร ก็จะมาคืนให้เราตามค่านี้ ซึ่งโดยหลักแล้ว ถ้าเราสามารถซื้อหุ้นที่มีค่า P/BV ไม่ถึง 1 นั่นย่อมแสดงว่า เราซื้อหุ้นได้ถูกกว่าหรือต่ำกว่ามูลค่าทางบัญชี นั่นก็ย่อมแสดงได้ว่า ถ้าเกิดหุ้นที่เราซื้อเจ๊งขึ้นมาจริง ๆ เขาก็จะคืนเงินให้เรามากกว่าราคาหุ้นที่เราซื้อนั่นเอง

หุ้นที่ถูก อาจไม่ใช่หุ้นที่น่าซื้อก็ได้

          แม้ อัตราส่วน ที่กล่าวมาแล้วทั้ง 2 ข้อ จะทำให้เรารู้ว่าหุ้นถูกหรือยังแล้วก็ตาม แต่ปัจจัยหรือองค์ประกอบที่เราจะซื้อหุ้นตัวนั้น ๆ คงไม่ได้มีเพียงเท่านี้แน่นอน เพราะหุ้นบางตัว แม้จะมีราคาที่ถูกก็จริง แต่ในวันข้างหน้ากำลังเป็นหุ้นที่ไม่มีอนาคต หรือเป็นธุรกิจตะวันตกดิน ที่ยากจะกลับมาเติบโตได้แบบในอดีตก็เป็นได้ ซึ่งการลงทุนนั้นมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลให้ดีก่อนการลงทุน…สวัสดีครับ

เครดิตภาพ  puntip.com,mitihoon.com และ maochammai.com

#การลงทุน #เทคนิคการลงทุน #อัตราส่วน

Table of Contents