ทำไม จึงต้องมีเงินสำรองฉุกเฉิน และควรมีเท่าไหร่

เหตุใดถึงต้องมีเงินสำรองฉุกเฉิน และเงินตัวนี้มีความสำคัญอย่างไร และควรมีอยู่เท่าไหร่จึงจะพอกับการใช้ชีวิตวันนี้เรามีข้อมูลมาบอกกัน ไปดูกันเลย

moneyhub

เหตุผลที่ต้องมี เงินสำรองฉุกเฉิน

มาดูเหตุผลกันก่อนว่าเพราะอะไร จึงต้องมีเงินเก็บไว้สำรอง ซึ่งนี่ก็คือเหตุผลที่คุณต้องรู้

1.ไว้ใช้เมื่อตกงาน

เราไม่มีทางรู้ได้ว่าบริษัทที่เราทำนั้นจะมีการปลดพนักงานออกเมื่อไหร่แม้มีกฎหมายร่างเอาไว้แต่หากคุณเป็นคนที่เข้าทำงานใหม่คุณอาจได้ออกจากบริษัทที่ทำอยู่เร็วกว่าคนอื่น

และเพื่อป้องกันปัญหาในยามที่ต้องออกงานกะทันหัน ด้วยเงินที่คุณเก็บเอาไว้ก็สามารถช่วยให้คุณพ้นวิกฤตนี้ได้

2.เอาไว้รักษาพยาบาล

หากคุณยังทำงานอยู่แล้วเกิดมีอาการเจ็บตัวที่มากกว่าความคุ้มครองของประกันสังคมจะจ่ายได้ เงินที่คุณเก็บเอาก็จะเป็นตัวช่วยสำคัญที่ทำให้คุณไม่ต้องเครียดว่าจะเอาเงินจากตรงไหนมาเป็นค่ารักษา

3.เมื่อต้องปรับปรุงบ้าน

หลายคนที่กำลังผ่อนบ้านอยู่ต้องเคยประสบปัญหาเหล่านี้แน่นอน เพราะหากบ้านผ่อนหมดแล้วคุณอาจใช้การขอสินเชื่อเพื่อการปรับปรุงที่อยู่อาศัย แต่หากคนที่เพิ่งจะผ่อนได้ไม่กี่ปีสิ่งที่จะช่วยได้ก็คือเงินเก็บของตัวเองนั่นเอง

rommit

ควรมีเงินสำรองฉุกเฉินเท่าไหร่

เงินสำรองฉุกเฉินนั้นควรมีเก็บไว้โดยคิดจากฐานเงินเดือนควรมี สำรองเอาไว้ 3 – 6 เดือนในรายที่เป็นพนักงานประจำหรือมนุษย์เงินเดือน แต่หากคุณเป็น ฟรีแลนซ์ ควรมีเอาไว้ 6 – 12 เดือนเพราะรายได้ที่ไม่แน่นอน

แต่หากคุณต้องการเก็บเงินมากกว่านี้เราขอแนะนำให้คุณแบ่งเงินส่วนหนึ่งนอกเหนือจากที่คุณเก็บไว้เป็นเงินก้อนนี้ เอาไปลงทุนกับพันธบัตรชนิดต่างๆ ที่คุณสนใจจะช่วยให้เงินมีการงอกเงยขึ้นได้

กฎเหล็กในการเก็บเงินสำรองฉุกเฉิน

เงินสำรองฉุกเฉินนี้ควรเก็บแยกต่างหากจากเงินออมอื่นๆ เพราะต้องเก็บไว้เพื่อฉุกเฉินจริงๆ เท่านั้นเช่น เมื่อคุณออกจากงานต้องมีเงินไว้หล่อเลี้ยงชีวิตในช่วงที่ต้องหางานใหม่

ซึ่งช่วงนี้นั้นคุณต้องมีค่าใช้จ่ายในการเดินทางเพื่อใช้ในการสมัครงานเงินตัวนี้จึงต้องเป็นเงินเย็นที่เก็บไว้และไม่มีการใช้นั้นเอง

promotions

ดังนั้นเมื่อได้ทำงานแล้วสิ่งที่ต้องคิดนอกจากการซื้อความสุขให้ตัวเองคุณควรต้องเก็บเงินไว้เพื่อเป็นเงินสำรองฉุกเฉินด้วยเพราะเศรษฐกิจเองก็มีขึ้นมีลง ดังนั้นคุณไม่ควรประมาทกับการใช้ชีวิตอย่างเด็ดชาด ซึ่งควรเก็บเงินเอาไว้สักหน่อย เผื่อยามฉุกเฉินนั่นเอง

#เงินสำรองฉุกเฉิน

Table of Contents