จากบทความตอนที่แล้วเส้นค่าเฉลี่ยใช้ในการบอกแนวโน้มแล้วนั้น…เส้นค่าเฉลี่ยยังมีหน้าที่ในการบอก “แนวรับ-แนวต้าน” อีกด้วย
#แนวรับ (Support Line) คือ แนวที่ระดับราคาลงมาทดสอบแล้วมีแรงซื้อทำให้ราคาไม่หลุดแนวรับนั้น
#แนวต้าน (Resistance line) คือ แนวที่ระดับขึ้นไปทดสอบแล้วมีแรงขายทำให้ราคาไม่ผ่านแนวต้านนั้น

สำหรับคนที่ซื้อหุ้น คือ เล่นในแนวโน้มขาขึ้น เราสามารถใช้เส้นค่าเฉลี่ยที่เป็นแนวรับในการซื้อหุ้นได้ (ดูรูปภาพประกอบความเข้าใจ)

ข้อดีของการซื้อที่แนวรับคือเมื่อกรณีที่ผิดทางจะขาดทุนในจำนวนเงินที่น้อยเทียบกับกำไรคาดหวังที่เราจะได้…ทั้งนี้เราจะยอมขาดทุนเมื่อราคาหลุดต่ำกว่าเส้นค่าเฉลี่ยลงไป
สำหรับที่คนที่เล่นหุ้นขาลงเป็น เราจะใช้เส้นค่าเฉลี่ยในการ Short หรือ Put หุ้น เมื่อราคาขึ้นมาชนเส้นค่าเฉลี่ยแล้วไม่ผ่านเส้นค่าเฉลี่ยนั้น จุดยอมขาดทุน ให้ใช้กรณีที่ราคาขึ้นมาเหนือเส้นค่าเฉลี่ย
คำถามที่มักเจอบ่อย ๆ คือ ใช้เส้นค่าเฉลี่ยเท่าไรดี หุ้นแต่ละตัวก็จะมีเส้นค่าเฉลี่ยที่เหมาะสมในการใช้งานแตกต่างกัน…

หุ้นบางตัวใช้เส้นค่าเฉลี่ย 20 วัน บางตัว 50 วัน บางตัว 90 วัน หรือบางตัว 200 วัน จะใช้เส้นค่าเฉลี่ยไหน…วิธีการคือให้ลองทดสอบใส่เส้นค่าเฉลี่ยตามระยะเวลา เส้นค่าเฉลี่ยที่เหมาะสมคือ”เส้นค่าเฉลี่ยที่ราคามาสัมผัสกันบ่อย ๆ
นอกจากนี้ถ้านักลงทุนอยากให้การใช้งานให้แม่นยำมากขึ้น อาจจะต้องใช้เรื่องกราฟแท่งเทียน (Candle Stick) ดังนี้
ถ้าแนวโน้มขาขึ้น และราคาลงมาทดสอบกับเส้นค่าเฉลี่ยแล้วเกิดแท่งเทียนแรงซื้อ (ราคาปิดสูงกว่าราคาเปิด) ถือว่าเป็นสัญญาณในการ “ซื้อ” ในทำนองตรงข้ามถ้าแนวโน้มขาลง และราคาขึ้นมาทดสอบกับเส้นค่าเฉลี่ยแล้วเกิดแท่งเทียนแรงขาย (ราคาปิดต่ำกว่าราคาเปิด) ถือว่าเป็นสัญญาณในการ “ขาย” เส้นค่าเฉลี่ยเป็นอินดิเคเตอร์ที่เรียบง่ายแต่มีประสิทธิภาพ และใช้งานง่ายมาก ถ้าเข้าใจก็สามารถทำกำไรในตลาดหุ้นได้…
หวังว่าบทความนี้น่าจะมีประโยชน์กับทุกคน
จิ๊บ #Stockjibjib