กอช. คืออะไร? (ฉบับเข้าใจง่าย)

สวัสดีเพื่อน ๆ ทุกคนนะค่า~ วันนี้เราได้ไปอ่านเกี่ยวกับการออมเงิน แบบได้กำไรมาด้วย หมายถึงออมอย่างเดียวไม่พอ แต่ได้ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นด้วย เพื่อน ๆ คงสงสัยว่า มันก็มีมาตั้งนานแล้วนะ สำหรับการออมเงินแล้วได้ดอกเบี้ยด้วย

ใช่ค่ะ!! มันมีมาตั้งนานแล้ว แต่วันนี้เราจะพาเพื่อนๆ ไปรู้จักกับการออมเงินอีกตัวนึง ที่มีชื่อว่า กอช.

กอช. ย่อมาจาก กองทุนการออมแห่งชาติคือ กองทุนการออมเพื่อวัยสูงอายุ หรือวัยเกษียณโดยเฉพาะ พูดง่าย ๆ ก็เป็นเงินที่เราเก็บออม แล้วเอาไว้ใช้ยามเราแก่นั่นแหละค่ะ

แต่เพื่อน ๆ อย่าเพิ่งตกใจไปนะคะว่า ฉันยังไม่แก่ ทำไมต้องรีบ เพราะว่าสิ่งที่เรากำลังจะบอกต่อไปนี้ มันไม่ได้หมายความว่า เราต้องแก่ก่อนแล้วค่อยเก็บ เพราะเราสามารถเริ่มเก็บได้ตั้งแต่อายุ 15-60 ปีค่ะ

ซึ่งกองทุนตัวนี้ เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาชีพอิสระ หรืออยู่นอกระบบบำเหน็จบำนาญของรัฐ หรือกองทุนที่มีนายจ้างสมทบ ไม่ว่าจะเป็นกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการกทม. ข้าราชการกทม. ข้าราชการส่วนท้องถิ่น กองทุนประกันสังคม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือกองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมาย เป็นต้น

ส่วนการออมนั้นจะเริ่มขั้นต่ำที่ 50-13,200 บาท/เดือน เมื่อเราจ่ายไปแล้ว รับบาลก็จะจ่าบเงินสมทบให้ในเดือนต่อไป(ค่าสมทบตามเกณฑ์อายยุ ยิ่งอายุเยอะ ยิ่งได้เยอะ) แบ่งเป็น 3 เกณฑ์ ดังนี้

1. อายุ 15-30 = ไม่เกินปีละ 600 บาท

2. อายุ 30-50 = ไม่เกินปีละ 960 บาท

3. อายุ 50-60 = ไม่เกินปีละ 1,200 บาท

ภาพจาก กองทุนการออมแห่งชาติ

*สามารถส่งเงินออมได้ที่ธนาคารออมสิน ธกส. หรือกรุงไทย ทุกสาขา*

และเมื่อเราอายุครบ 60 ปี เพื่อน ๆ ก็จะได้รับเงินบำนาญรายเดือน ตลอดชีวิตค่ะ หรือถ้าเราทุพพลภาพก่อนอายุครบ 60 ปี เราก็ยังได้รับเงินที่เราออมไว้และผลประโยชน์ของเงินออม ส่วนเงินสมทบจะได้ตอนครบหกสิบปีเช่นกันค่ะ

ไม่เพียงแค่นั้น ถ้าเกิดเรามีความจำเป็นต้องออกจากกองทุนก่อนครบอายุหกสิบปี เพื่อน ๆ สามารถรับเงินในส่วนของเงินที่เราออมไปและผลประโยชน์ของเงินออมอีก หรือแม้แต่ในกรณีเลวร้ายที่สุดคือ เสียชีวิต จะได้รับเงินเท่ากับเงินที่สะสมไว้ในบัญชีของแต่ละคนด้วยค่ะ

เป็นไงกันบ้างคะ? สำหรับกองทุนการออมแห่งชาติ ผลประโยชน์มันดีมาก ๆ เลยใช่ไหมคะ ที่สำคัญเพื่อน ๆ สามารถเก็บได้เรื่อย ๆ และเงินเริ่มต้นในการออมก็ไม่เยอะมากด้วย มีก็ออม ไม่มีก็ยังไม่ออม แถมยังสมัครง่ายอีกด้วย เพียงแค่ใช้บัตรประชาชน ใบเดียว จบ!!

Table of Contents